วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่อประเทศไทย

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้า เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก และเป็นที่เชื่อกันว่าความสำคัญของการท่องเที่ยวจะมีมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง และการท่องเที่ยวกลายเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศที่สำคัญที่สุด การเดินทางท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมธรรมชาติของมนุษย์ที่มีมาแต่โบราณกาล และได้พัฒนาการมาเป็นลำดับ ยิ่งมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะการคมนาคมขนส่งก็ยิ่งทำให้การเดินทางท่องเที่ยวขยายวงกว้างออกไป โดยมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ หลากหลายกันไม่ว่าเพื่อธุรกิจ เพื่อนันทนาการ และเพื่อศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น การเดินทางท่องเที่ยวซึ่งเป็นกิจกรรมอันเป็นส่วนบุคคลเหล่านี้ได้เติบโตรวมกันเป็นกลุ่มก้อนขึ้น จนกระทั่งต้องอาศัยเทคนิควิชาการเฉพาะ การวางแผน การจัดองค์การ และการตลาด รวมเข้าแล้วเรียกว่า “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของนานาประเทศในปัจจุบัน

ทางด้านสังคม การท่องเที่ยวก็เป็นการพักผ่อนที่ช่วยลดความตึงเครียด พร้อม ๆ กับสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้มาเยือนและเจ้าของท้องถิ่น จึงเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

อุตสหกรรมท่องเที่ยวจัดเป้นอุตสาหกรรมบริการประเภทหนึ่ง ซึ้งประกอบไปด้วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ ธุรกิจด้านการขนส่ง(Logistics) ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร และธุรกิจการจัดนำเที่ยว ซึ้งผลผลิตหลักที่นักท่องเที่ยวได้รับ คือ บริการต่าง ๆรวมไปถึงความสะดวกสบายตลอดการเดินทางท่องเที่ยว โดยมีวัตถุดิบหลักที่ใช้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คือ ความสวยงามตามธรรมชาติ ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตของประชาชน โดยผลผลิตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือ บริการที่นักท่องเที่ยวได้รับในรูปแบบต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจและมุ่งเน้นในเรื่องของการที่นักท่องเดินทางเข้ามาพักมากขึ้น และมีระยะการพักค้างคืนในประเทศที่ยาวนานขึ้นและให้มีการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศสูงขึ้น ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยทางอ้อม ได้แก่ การผลิตสินค้าทางการเกษตร สินค้าหัตถกรรมต่าง ๆ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และการผลิตสินค้าของที่ระลึก เป็นต้น

ภาวะการท่องเที่ยวของประเทศนั้น กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นดัชนีวัดสภาวะทางเศรษฐกิจและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ หากอุตสหกรรมการท่องเที่ยวเป็นไปในทิศทางที่สดใสก็จะส่งผลดีทางด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตและการสร้างงานของประเทศนั้น ๆ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงถือได้ว่าเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่แสดงบทบาทเด่นชัดในแต่ละปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนถึง 14,149,841 คน เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2551 มีอัตราลดลงของนักท่องเทียวคิดเป็น 2.98% (Immigration Bureau, Royal Thai Police,) ส่งผลทำให้รายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวลดลง นับเป็นมูลเหตุของการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ทำให้ภาครัฐต้องออกมาจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นพลังของการขับเคลื่อนทั้งส่วนเล็กและส่วนน้อยที่ช่วยกันผลักช่วยกันดันให้อุตสาหกรรมนี้เคลื่อนไหวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง และแสดงบทบาทนำในการเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งนำไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ การกระจายรายได้และการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมากมายหลายร้อยสาขา เป็นการสร้างความมั่งคั่งให้กับประชาชน และประเทศชาติ และนำไปสู่ความสำเร็จในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย

ประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา เพื่อให้ประเทศก้าวทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆดังกล่าว ประเทสไทยจำเป็นต้องมีการปรับตัว โดยส่วนหนึ่งมีความจำเป็นต้องเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในกรอบต่าง ๆ เพื่อให้ภาคการผลิตของประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก เขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) หรือข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) โดย FTA ฉบับแรกที่ไทยจัดทำคือ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) หรือที่เรียกว่า AFTA ซึ้งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535

FTA เป็นความตกลงระหว่าง 2 ประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อให้เกิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ได้ขยายขอบเขตของ FTA ให้ครอบคุมการค้าด้านบริการ อาทิเช่น บริการท่องเที่ยวในด้านต่าง เช่น ด้านการขนส่ง (Logistics) ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร และธุรกิจการจัดนำเที่ยว เป็นต้น พร้อมกับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยสะท้อนแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า “ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นสูวสุดเมื่อประเทสต่าง ๆ ผลิตสินค้าที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ แล้วนำสินค้าเหล่าวนั้นมาค้าขายแลกเปลี่ยนกัน”
ในปัจจุบันนอกจาก AFTA แล้ว ประเทศไทยยังได้มีข้อตกลง FTAs กับอีกหลายประเทศที่มีผลบังคับใช้แล้ว อาทิเช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เป้นต้น

เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญในการนำรายได้เข้าประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมื่อมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นย่อมเป็นที่มาของรายได้ของประเทศในรูปแบบของการสร้างงาน สร้างอาชีพ ในสาขุรกิจที่เกี่ยวข้องไปด้วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ ธุรกิจด้านการขนส่ง(Logistics) ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร และธุรกิจการจัดนำเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยทางอ้อม ได้แก่ การผลิตสินค้าทางการเกษตร สินค้าหัตถกรรมต่าง ๆ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และการผลิตสินค้าของที่ระลึก อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ไปยังทุกพื้นที่ทั้งในเมืองและในชนบท ซึ้งมีส่วนช่วนในการพื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีในทางอ้อมและทำให้เกิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาขนให้ดีขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักในสังคมโลก ซึ้งนับว่าเป็นผลดีต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในเวทีระหว่างประเทศในยุกโลกาภิวัตนืได้เป้นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น