วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คุณค่าของเวลาในชีวิต

เรียนรู้ “คุณค่าของเวลาในชีวิต”

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน
วันนี้ผู้เขียนขออนุญาตนำท่านผู้อ่านไปหามุมมองในเรื่องของ “คุณค่าของเวลาในชีวิต” กันนะครับ ซึ่งท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะเคยพบหรือเคยอ่านบทความในลักษณะนี้มาบ้างแล้วผู้เขียนต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี่ เพราะมุมมองที่ผู้เขียนได้บรรยายไว้ในบทความนี้เป็น แง่คิดแนวปฏิบัติที่ผู้เขียนยึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงอีกมุมหนึ่งถึง “คุณค่าของเวลา”

ก่อนอื่นผู้เขียนขอนำเสนอหลักการคำนวณเวลาทางคณิตศาสตร์ตามแนวการดำเนินชีวิตของคนไทยซึ่งมาตรฐานเวลาดังกล่าวองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้กำหนดอายุเฉลี่ยของคนไทยคือ ผู้หญิงมีอายุเฉลี่ย 72ปี ผู้ชายมีอายุเฉลี่ย 68ปี เราจะเห็นว่าการวิเคราะห์อายุเฉลี่ยในตัวเลขดังกล่าวผู้หญิงจะมีอายุยืนมากกว่าผู้ชายอันเป็นผลมาจากรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันของผู้หญิงและผู้ชาย แต่อย่างไรก็ตามสำหรับอายุการทำงานของคนไทยนั้นผู้เขียนขอนำอายุการทำงานของข้าราชการไทยมาเป็นเครื่องมือในการคำนวณเวลากันนะครับ

เราลองมาคำนวณเวลาในอายุของคนไทยกันนะครับ
 ช่วงอายุ 1-6 ปี วัยเด็กอยู่กับครอบครัว
 ช่วงอายุ 7-18 ปี เป็นการศึกษาภาคบังคับ
 ช่วงอายุ 19-22 ปี การศึกษาในระดับอุดมศึกษา(ปริญญาตรี)
 ช่วงอายุ 23 ปีขึ้นไป เป็นช่วงอายุของการ เริ่มต้นการทำงาน
เมื่ออายุการทำงานของข้าราชการไทยสินสุดที่ 60 ปี และคนไทยเราเริ่มต้นเข้าสู่วัยทำงานที่อายุ 23 ปี เราจะเห็นว่าช่วงระยะเวลาการทำงานของคนไทยคำนวณได้จากตัวเลข 60-23เท่ากับ 37ปี หรือเท่ากับ13,505 วันกันเลยนะครับ

ที่นี้เราลองมาหาคุณค่าของเวลากันดูนะครับว่าระยะเวลา 37 ปี หรือ 13,505 วันนั้นเราเอาเวลาไปทำอะไรกันบ้างก่อเกิดประโยชน์กับตนเองและส่วนรวมมากน้อยแค่ไหน ตามวิชาการทางการแพทย์คนเราต้องพักผ่อนด้วยการนอนหลับวันละ 6-8 ชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่ถ้าอยากหน้าใส ไม่แก่เกินวัยห้ามนอนหลังเที่ยงคืนนะครับ สำหรับเวลาทำงานของเราผู้เขียนคำนวณได้จากชั่วโมงทำงานตามเวลาราชการคือ 8 ชั่วโมงต่อวันนะครับ ส่วนเวลาที่เหลือใน 1 วันมีค่าเท่ากับ 8-10 ชั่วโมงกันเลยนะครับ ถ้าดูตัวเลขแล้วเวลานิดเดียวเองใช่ไหมครับ เราลองเอามาเทียบเป็นเวลาตลอดช่วงวัยทำงานกันดูนะคับว่าจะมีค่ามากเท่าไหร่
•เวลานอนหลับ 8 ชั่วโมงคูณ 13,505 วัน คิดเป็น 108,040 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 6,482,400 นาที
•เวลาทำงาน 8 ชั่วโมงคูณ 13,505 วัน คิดเป็น 108,040 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 6,482,400 นาที
•เวลาส่วนที่เหลือ 8 ชั่วโมงคูณ 13,505 วัน คิดเป็น 108,040 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 6,482,400 นาที

จากประสบการณ์ของผู้เขียน มีความเห็นว่า ความสำเร็จของคนส่วนใหญ่นั้นเกิดมาจากการบริหารจัดการเวลาส่วนที่เหลือคือ 108,040 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 6,482,400 นาที นี้ว่าจะใช้ไปในทิศทางใดและก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองและส่วนรวมมากน้อยเพียงใด เพราะเราจะเห็นว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ครอบครัวหรือด้านอื่น ๆ มักมีการบริหารจัดการเวลาในส่วนนี้เป็นอย่างดี เช่น ใช่เวลาว่างไปทำการศึกษาหาความรู้เพื่อนำมาพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา หรือจัดตรางเวลามา Take Care ครอบครัวสร้างรากฐานที่มั่งคงของครอบครัวและสังคม อาจมีบางท่านที่นำเวลาส่วนนี้มาช่วยกันพัฒนาสังคมแบบไม่คิดแสวงหากำไร ส่วนผู้ที่ล้มเหลวในชีวิตมักเรามักจะได้ยินเสียงบ่นว่าไม่มีเวลาหรือเวลาไม่พอที่จะทำอย่างนั้นอย่างนี้โดยลืมไปว่าเวลาส่วนนี้ของเขาก็เท่า ๆ กับคนอื่นและสามารถที่จะนำไปพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย มิใช่เป็นการเอาเวลาส่วนนี้ไปตั้งวงเสวนาโดยมีสุราเป็นมิตร หรือนำพาชีวิตตนเองสู่อบายมุขต่าง ๆ จนกลายเป็นบัวในโคลนตมแทนที่จะพัฒนาเจริญเติบโตกลับต้องมากลายมาเป็นเหยื่อของเต่าปลาไปเสียนี่ครับ

สุดท้ายนี้ผู้เขียน อยากให้ทุกท่านลองพิจารณาดูนะครับว่า ทุก ๆ ท่านได้ใช้คุณค่าของเวลาในส่วนที่เหลือของท่านไปอย่างไร ก่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติของเราอย่างไร และท่านผู้อ่านต้องไม่ลืมนะครับว่า เวลาในส่วนนี้เมื่อท่านใช้มันอย่างคุ้มค่าแล้ว มันจะส่งผลต่อการใช้เวลาในส่วนที่ท่านใช้ทำงานด้วยเพราะความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของท่านจะได้ผมมาจากการใช้เวลาอย่างคุ้มค่าของเวลาส่วนนี่โดยที่ท่านไม่ต้องประจบเจ้านาย(เลียนาย) แต่ท่านโตได้ด้วยความสามารถในตัวท่านเองและมันจะกลายเป็นความภูมิใจของท่านเอง ว่าท่าน “มิได้ทำร้ายใคร มิได้ทำลายสังคม และทำร้ายประเทศไทย”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น