วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

20 คำสอนจาก ท่านพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี (เตือนสติตนเองกันนะครับ)

20 คำสอนจาก ท่านพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี

๑. กลัวลูกมีเซ็กส์ในวัยเรียน?

ไม่ อยากให้เกิด ต้องเอาปัญญาใส่ในมือลูก
ให้เงินลูกน้อยๆ ให้ความรู้แก่ลูกมากๆ ด่าลูกน้อยๆ ให้คำสอนลูกมากๆ

๒. ไหว้พระขอพรอะไรดี?

(๑) ขออย่าให้โลภจนหน้ามืด
(๒) ขออย่าให้โกรธจนทำร้ายตัวเอง
(๓) ขออย่าให้หลงจนไม่รู้ดีรู้ชั่ว
(๔) ขออย่าให้ตายในสงครามระหว่างคนไทยด้วยกันเอง

๓. ท้อแท้กับปัญหามากมายทำอย่างไรดี?

ปลาที่ยังเป็นอยู่ ล้วนเรียนรู้ที่จะว่ายทวนน้ำ
ส่วนปลาตาย มักไหลตามน้ำ
ปัญหาทำให้คน ธรรมดาท้อ แต่ทำให้คนมีปัญญาลุกขึ้นมาแก้ไข

๔. ทะเลาะกับแฟนจนไม่มีสมาธิทำงาน?

งานส่วนงาน แฟนส่วนแฟน
รู้จัก แบ่งเวลาให้งาน รู้จักแบ่งเวลาให้แฟน
อย่าเสียงานเพราะแฟน อย่าเสียแฟนเพราะงาน

๕. โกรธ! ถูกเพื่อนนินทา?

โบราณว่า ไม่มีใครเตะหมาที่ตายแล้ว
คุณถูกนินทาแสดงว่าคุณยังมีความหมาย
คุณ เป็นคนโชคดี จู่ๆ ก็มีกระจกวิเศษสะท้อนความอัปลักษณ์
ให้เห็นความบกพร่อง ของตัวเอง

๖. จับได้ว่าแฟนมีกิ๊กทำอย่างไรดี?

(๑) ถามตัวเองว่าเราดีกับเขาพอหรือยัง
(๒) ระหว่างเรากับกิ๊กมีข้อดีข้อด้อยต่างกันตรงไหน
(๓) ถามแฟนว่าจะเลือกใครก็รีบทำ
ไม่รักฉัน อย่าทำให้ฉันเสียเวลา

๗. โดนเพื่อนร่วมงานแย่งซีนทำอย่างไร?

เขาแย่งจากเราได้เพียงแค่ซีนและ ภาพลักษณ์เท่านั้น
แต่เขาไม่สามารถแย่งความรู้และความสามารถไปจากเราได้

๘. งานเยอะมากทำอย่างไรดี?

(๑) รู้ว่างานเยอะต้องรีบทำ
(๒) อย่าดองงานข้ามปีข้ามชาติ
(๓) เรียงลำดับความสำคัญของงาน
สำคัญก่อน ให้รีบทำ สำคัญน้อยค่อยทยอยทำ

๙. ทำงานดี มีแต่คนริษยา จะรับมืออย่างไร?

โบราณว่า ไม้ใหญ่ย่อมเจอขวานคม
คนเด่นต้องมีคน ด่า คนมีปัญญาจึงมีคนลองดี
คนทำงานดีจึงมีคนริษยา ปรากฏการณ์เช่นว่านี้
เป็น ของธรรมดา ทำงานดีจนมีคนริษยา
ยังดีกว่าทำงานไม่ดี จึงเป็นได้อย่างดีแค่คนที่คอยริษยา

๑๐. ทำงานแทบตาย เงินไม่พอใช้ ทำอย่างไรดี?

(๑) หางานใหม่
(๒) ลดความต้องการให้น้อยลง อยู่กับความจริงให้มาก
(๓) บริโภคปัจจัยสี่โดยมุ่งประโยชน์ อย่ามุ่งประดับ
(๔) ทำบัญชีรายรับรายจ่าย รับมากกว่าจ่ายจึงนับว่ายอด
จ่ายมากกว่ารับนับว่า แย่

๑๑. ถูกนายด่า อารมณ์เสีย?

คนที่ด่าคนอื่นสะท้อนว่า ระบบข้างใจกำลังพัง
คนอารมณ์เสียเพราะถูกด่า
แสดงว่าระบบของตัวเองก็ พังตามไปด้วย

๑๒. ไถ่ชีวิตโคได้บุญมากไหม?

ถ้าไถ่แล้วโค อยู่รอด คุณได้บุญ
แต่หากไถ่เพื่อทำให้วัดอยู่รอด คุณได้บาป
แทนที่จะ ไถ่โคกระบือ
คุณควรไถ่ตัวเองให้พ้นจากความโลภ โกรธ หลง ดีกว่า

๑๓. แฟนติดหนังเกาหลี ดูทั้งคืนไม่ยอมนอน?

ขอให้คิดว่าอย่างน้อยเธอยัง นั่งดูอยู่ในบ้าน
ถึงเธอจะติดหนังเกาหลี ก็ยังดีกว่าติดผู้ชายขี้หลีที่อยู่นอกบ้าน

๑๔. ลูกค้าจู้จี้ทำอย่างไรดี?

มีลูกค้าจู้จี้ยังดีกว่าวันทั้งวันไม่มี ใครแวะเวียน
ผ่านมาเยี่ยมเยียนถึงในร้าน
ลูกค้าจู้จี้ได้ แต่คุณต้องทำให้เขาประทับใจเอาไว้เสมอ

๑๕. ไปงานวันเกิดควรได้อะไร?

(๑) ได้ถามตัวเองว่า เราเกิดมาเพื่ออะไร
(๒) ได้ถามตัวเองว่า เราเกิดมาจากใคร
(๓) ได้ถามตัวเองว่า เรากตัญญูต่อผู้ให้กำเนิดแล้วหรือยัง

๑๖. สวดมนต์บทไหนดี?

(๑) สวดพุทธคุณเพื่อเตือนว่า จงเป็นผู้ตื่น
(๒) สวดธรรมคุณเพื่อเตือนว่า
จง เว้นสิ่งที่ควรเว้น จงทำสิ่งที่ควรทำ
(๓) สวดสังฆคุณเพื่อเตือนว่า พระอรหันต์ที่แท้
คือพ่อกับแม่ที่อยู่ในบ้านของเรานั่นเอง

๑๗. สามีไม่สนใจธรรมะเลยทำอย่างไรดี?

(๑) เราควรมีธรรมะให้เขาดู
(๒) เราควรอยู่ให้เขาเห็น
(๓) เราควรสงบเย็นให้เขาได้สัมผัส
เนื่องเพราะ หนึ่งการกระทำสำคัญกว่าพันคำพูด

๑๘. โดนขับรถปาดหน้า โมโหมาก?

(๑) บอกตัวเองว่าโกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ด่าคือมาร ระรานคือบาป
(๒) เปลี่ยนการด่าเป็นการแผ่เมตตาให้เขาถึงที่หมายโดยปลอดภัย
(๓) เตือนตนไว้ว่า อย่าขับรถปาดหน้าใคร เพราะอาจมีอันตรายรอบด้าน

๑๙. อยู่ในกลุ่มเพื่อนชอบนินทาจะตีจากดีไหม?

ท่านพุทธทาสกล่าวว่า คนชอบนินทาคือคนที่ชอบกินของเน่า
ถ้าเราร่วมผสมโรงไปกับเขา แสดงว่าเราเองก็ชอบกินของเน่าไม่เบาเหมือนกัน

๒๐. ทำไมมักเจอสิ่งที่ไม่ชอบใจอยู่เสมอ?

ผู้รู้บอกว่า ศิลปินอย่าดูหมิ่นศิลปะ กองขยะดูดีๆ ยังมีศิลป์
ดังนั้น ในสิ่งที่คุณไม่ชอบ ย่อมมีแง่มุมที่คุณชอบอย่างแน่นอน
มองอย่างพินิจจะพบ ว่า ในดีมีเสีย ในเสียมีดี

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

“จุดเริ่มต้นของการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์”

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน
สำหรับบทความตอนนี้ผมขอใช้ชื่อ “จุดเริ่มต้นของการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์” นะครับ แรงบันดาลใจของบทความนี้มาจากการที่ผมได้เห็นความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นในสังคมบ้านเมืองของเราอาทิเช่นการเปิดเสรีทางการค้า และในหลายสนธิสัญญาที่ภาครัฐได้มีการลงนามแล้วนั้น ล้วนแต่ส่งผมกระทบต่อประชาชนอย่างเรา ๆ เช่น การเปิดตลาดเสรีอาเซียน การเปิดเสรีทางการค้ากับจีน การเปิดเสรีทางการค้ากับญี่ปุ่น การเปิดเสรีทางการค้ากับอินเดีย ฯลฯ แล้วประชาชนอย่างเรา ๆ จะรับรู้ถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและต้องมีการปรับตัว หรือดำเนินการอย่างไร เพื่อที่จะประสบผลสำเร็จท่ามกลางภาวะการเปลี่ยนแปลง

ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หลาย ๆ ท่านจะคุ้นเคยกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่ว่า “Globalization” ซึ่งเราแปลเป็นภาษาไทยว่า “โลกาภิวัตน์” และเรียกติดปากกันอยู่ทุกวันนี้ โลกาภิวัตน์ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น" ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ โลกาภิวัตน์จึงเปรียบเสมือนเป็นกระบวนการที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกลายเป็นสังคมเดี่ยวด้วยเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นบนประชาคมโลกและมีการแพร่กระจายในรายละเอียด อย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ

จากสิ่งที่ผมได้กล่าวมาข้างต้นนี้เราลองมาพิจารณาความพร้อมของประชาชนคนไทยอย่างเรา ๆ ว่า “จุดเริ่มต้นของการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์” นั้น ควรจะเริ่มจากเรื่องใดก่อน เพราะความเป็น “โลกาภิวัตน์” นั้นได้หมายรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดอยู่บนโลกใบนี้ ถ้าท่านผู้อ่านลองจินตนาการณ์เรื่องต่าง ๆ รอบตัวเราดู เราอาจจะมีเรื่องตลกขบขันชนิดที่เรียกว่าขำไม่ออกก็ได้นะครับ เช่นเราอาจจะได้ประชากรที่ประกอบด้วยเชื้อชาติที่หลากหลาย เช่นคุณปู่เป็นลูกครึ่ง อเมริกัน อิตาเลี่ยน คุณย่า เป็น ลูกครึ่งอังกฤษ สเปน ส่วนตุณตา เป็นลูกครึ่งอินเดีย จีน คุณยาย เป็น ลูกครึ่งไทย เกาหลี ต่าง ๆ แบบนี้แล้วทายาทรุ่นต่อไปจะถือสัญชาติใดจึงจะเหมาะและภาษาที่จะใช้สื่อสารกันระหว่างญาติพี่น้องและควรใช้ภาษาใดเป็นภาษาหลักในการเจรจาสื่อสารสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัว
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้ เราจำเป็นต้องเลิกยึดถืออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หยุดการทุ่มเทเป็นพิเศษเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมมาสู่จุดยืนที่ยั่งยืนด้วยวิถีเศรษฐกิจแบบพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จเพระเจ้าอยู่หัว หมายความว่าจะต้องนำระบบเศรษฐกิจออกจากการชี้เป็นชี้ตาย โดยกลไกตลาดจากภายนอก และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจตามแนวทางสังคมไทย หมายถึงสังคมที่มั่นคงทางชุมชน และความมั่งคั่งทางรายได้ โดยไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งมาก มิฉะนั้นแล้วจะทำให้สังคมเสียดุลภาค เพราะยิ่งอัตราการเติบโตสูงขึ้น แต่เป็นความเจริญเติบโตที่เปราะบางและไม่แท้จริง ทำให้ทันสมัยแค่เปลือกนอก การพัฒนาที่เสียดุลภาคเช่นนี้ทำให้จุดยืนตั้งอยู่บนความไม่ยั่งยืน เพราะได้ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวจากจุดถ่วงดุลที่ควรจะเป็น เช่น สิ่งแวดล้อมได้เคลื่อนจากจุดยืนที่อุดมสมบูรณ์ เศรษฐกิจได้ผกผันจากศักยภาพแห่งการพึ่งตนเองสู่การพึ่งพิงจากภายนอก เป็นต้น

นิยามความหมาย “เศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนาชนบท” ปรับเปลี่ยนตามบริบทของโลกไปด้วย เราจะต้องมองให้เห็นตัวที่ก่อปัญหา มองให้เป็นเพื่อนำมาวิจัยเป็นองค์ความรู้พัฒนาประเทศ ไม่ใช่เพื่อตอบสนองความต้องการแบบพอกินพอใช้เท่านั้น แต่จะต้องแสวงหาแม่แบบที่สามารถตอบปัญหา รวมทั้งหาจุดยืนในกระแสโลกาภิวัตน์ได้ด้วย นั่นคือกระบวนพัฒนาอย่างมีขั้นตอนภายใต้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง จากพออยู่พอกินมีศักยภาพในการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ยกระดับการพัฒนาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติซึ่งเกิดจากระบบการพัฒนาไม่ไปกระทบระบบนิเวศน์จนนำไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือ เศรษฐกิจชุมชน โดยเริ่มจากการแสวงหาความรู้ วิทยาการใหม่ๆ มาต่อยอดภูมิปัญญาไทยแล้วมาปรับเป็นระบบเศรษฐกิจที่ฐานของคนในสังคมไทย

ผมขอนำเสนอการเรียนรู้อย่างง่าย ๆ เพื่อเข้าสู่“จุดเริ่มต้นของการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์”ดังนี้คือ
 การอบรมและพัฒนา Training and Development
 การวิจัยและพัฒนา Research and Development
 การลอกเลียนแบบและพัฒนา Copy and Development
เราจะอยู่รอดท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ได้นั้นจะต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และต้องมีการพัฒนาสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ดีขึ้นโดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของสังคมไทยเพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่อประเทศไทย

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้า เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก และเป็นที่เชื่อกันว่าความสำคัญของการท่องเที่ยวจะมีมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง และการท่องเที่ยวกลายเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศที่สำคัญที่สุด การเดินทางท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมธรรมชาติของมนุษย์ที่มีมาแต่โบราณกาล และได้พัฒนาการมาเป็นลำดับ ยิ่งมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะการคมนาคมขนส่งก็ยิ่งทำให้การเดินทางท่องเที่ยวขยายวงกว้างออกไป โดยมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ หลากหลายกันไม่ว่าเพื่อธุรกิจ เพื่อนันทนาการ และเพื่อศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น การเดินทางท่องเที่ยวซึ่งเป็นกิจกรรมอันเป็นส่วนบุคคลเหล่านี้ได้เติบโตรวมกันเป็นกลุ่มก้อนขึ้น จนกระทั่งต้องอาศัยเทคนิควิชาการเฉพาะ การวางแผน การจัดองค์การ และการตลาด รวมเข้าแล้วเรียกว่า “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของนานาประเทศในปัจจุบัน

ทางด้านสังคม การท่องเที่ยวก็เป็นการพักผ่อนที่ช่วยลดความตึงเครียด พร้อม ๆ กับสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้มาเยือนและเจ้าของท้องถิ่น จึงเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

อุตสหกรรมท่องเที่ยวจัดเป้นอุตสาหกรรมบริการประเภทหนึ่ง ซึ้งประกอบไปด้วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ ธุรกิจด้านการขนส่ง(Logistics) ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร และธุรกิจการจัดนำเที่ยว ซึ้งผลผลิตหลักที่นักท่องเที่ยวได้รับ คือ บริการต่าง ๆรวมไปถึงความสะดวกสบายตลอดการเดินทางท่องเที่ยว โดยมีวัตถุดิบหลักที่ใช้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คือ ความสวยงามตามธรรมชาติ ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตของประชาชน โดยผลผลิตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือ บริการที่นักท่องเที่ยวได้รับในรูปแบบต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจและมุ่งเน้นในเรื่องของการที่นักท่องเดินทางเข้ามาพักมากขึ้น และมีระยะการพักค้างคืนในประเทศที่ยาวนานขึ้นและให้มีการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศสูงขึ้น ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยทางอ้อม ได้แก่ การผลิตสินค้าทางการเกษตร สินค้าหัตถกรรมต่าง ๆ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และการผลิตสินค้าของที่ระลึก เป็นต้น

ภาวะการท่องเที่ยวของประเทศนั้น กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นดัชนีวัดสภาวะทางเศรษฐกิจและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ หากอุตสหกรรมการท่องเที่ยวเป็นไปในทิศทางที่สดใสก็จะส่งผลดีทางด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตและการสร้างงานของประเทศนั้น ๆ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงถือได้ว่าเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่แสดงบทบาทเด่นชัดในแต่ละปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนถึง 14,149,841 คน เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2551 มีอัตราลดลงของนักท่องเทียวคิดเป็น 2.98% (Immigration Bureau, Royal Thai Police,) ส่งผลทำให้รายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวลดลง นับเป็นมูลเหตุของการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ทำให้ภาครัฐต้องออกมาจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นพลังของการขับเคลื่อนทั้งส่วนเล็กและส่วนน้อยที่ช่วยกันผลักช่วยกันดันให้อุตสาหกรรมนี้เคลื่อนไหวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง และแสดงบทบาทนำในการเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งนำไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ การกระจายรายได้และการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมากมายหลายร้อยสาขา เป็นการสร้างความมั่งคั่งให้กับประชาชน และประเทศชาติ และนำไปสู่ความสำเร็จในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย

ประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา เพื่อให้ประเทศก้าวทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆดังกล่าว ประเทสไทยจำเป็นต้องมีการปรับตัว โดยส่วนหนึ่งมีความจำเป็นต้องเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในกรอบต่าง ๆ เพื่อให้ภาคการผลิตของประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก เขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) หรือข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) โดย FTA ฉบับแรกที่ไทยจัดทำคือ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) หรือที่เรียกว่า AFTA ซึ้งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535

FTA เป็นความตกลงระหว่าง 2 ประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อให้เกิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ได้ขยายขอบเขตของ FTA ให้ครอบคุมการค้าด้านบริการ อาทิเช่น บริการท่องเที่ยวในด้านต่าง เช่น ด้านการขนส่ง (Logistics) ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร และธุรกิจการจัดนำเที่ยว เป็นต้น พร้อมกับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยสะท้อนแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า “ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นสูวสุดเมื่อประเทสต่าง ๆ ผลิตสินค้าที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ แล้วนำสินค้าเหล่าวนั้นมาค้าขายแลกเปลี่ยนกัน”
ในปัจจุบันนอกจาก AFTA แล้ว ประเทศไทยยังได้มีข้อตกลง FTAs กับอีกหลายประเทศที่มีผลบังคับใช้แล้ว อาทิเช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เป้นต้น

เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญในการนำรายได้เข้าประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมื่อมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นย่อมเป็นที่มาของรายได้ของประเทศในรูปแบบของการสร้างงาน สร้างอาชีพ ในสาขุรกิจที่เกี่ยวข้องไปด้วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ ธุรกิจด้านการขนส่ง(Logistics) ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร และธุรกิจการจัดนำเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยทางอ้อม ได้แก่ การผลิตสินค้าทางการเกษตร สินค้าหัตถกรรมต่าง ๆ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และการผลิตสินค้าของที่ระลึก อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ไปยังทุกพื้นที่ทั้งในเมืองและในชนบท ซึ้งมีส่วนช่วนในการพื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีในทางอ้อมและทำให้เกิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาขนให้ดีขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักในสังคมโลก ซึ้งนับว่าเป็นผลดีต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในเวทีระหว่างประเทศในยุกโลกาภิวัตนืได้เป้นอย่างดี

การเปิดเสรีทางการค้า

การเปิดเสรีทางการค้า ตามหลัก การขององค์การระหว่างประเทศที่เรียกว่า “องค์การการค้าโลก(World Trade Organization : WTO)” ในยุคปัจจุบันจัดได้ว่าเป็นยุคของการแข่งขันแบบการค้าเสรี ซึ่งประเทศต่างๆในโลก จำเป็นต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้สามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ได้ และนับวันแนวโน้มการแข่งขันในตลาดการค้าโลกจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น กระแสการค้าภายใต้การแข่งขันเสรีระหว่างประเทศได้นำไปสู่ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า หรือ แกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT) และต่อมาได้ พัฒนาการมาเป็นองค์การการค้าโลก(World Trade Organization : WTO) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการตามความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลกเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบัน (ณ วันที่ 1 ต.ค. 2551) มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 153 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้า และจัดทำกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรียิ่งขึ้น บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน เป็นเวทีในการยุติข้อพิพาท ทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก เป็นกลไกตรวจสอบและทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก
ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของแกตต์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 เป็นประเทศที่ 88 และได้ผูกพันอัตราภาษีศุลกากรของสินค้าไว้ 93 รายการ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิทธิประโยชน์ที่ประเทศภาคีอื่นผูกพันไว้ด้วย หลังจากแกตต์ได้พัฒนามาเป็นองค์การการค้าโลกแล้ว ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยมีฐานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งด้วยประเทศหนึ่ง
FTA เป็นความตกลงระหว่าง 2 ประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อให้เกิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้ขยายขอบเขตของ FTA ให้ครอบคุมการค้าด้านต่าง ๆ อาทิเช่น บริการท่องเที่ยว ด้านการขนส่ง (Logistics) ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร เป็นต้น พร้อมกับความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยสะท้อนแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า “ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นสูงสุดเมื่อประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วนำสินค้าเหล่านั้นมาค้าขายแลกเปลี่ยนกัน” ในปัจจุบันนอกจาก AFTA แล้ว ประเทศไทยยังได้มีข้อตกลง FTAs กับอีกหลายประเทศที่มีผลบังคับใช้แล้ว อาทิเช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักในการพัฒนาประเทศ

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักในการพัฒนาประเทศ
บทนำ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้า เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก และเป็นที่เชื่อกันว่าความสำคัญของการท่องเที่ยวจะมีมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง และการท่องเที่ยวกลายเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศที่สำคัญที่สุด การเดินทางท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมธรรมชาติของมนุษย์ที่มีมาแต่โบราณกาล และได้พัฒนาการมาเป็นลำดับ ยิ่งมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะการคมนาคมขนส่งก็ยิ่งทำให้การเดินทางท่องเที่ยวขยายวงกว้างออกไป โดยมีวัตถุประสงค์ต่างๆ หลากหลายกันไม่ว่าเพื่อธุรกิจ เพื่อนันทนาการ และเพื่อศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น การเดินทางท่องเที่ยวซึ่งเป็นกิจกรรมอันเป็นส่วนบุคคลเหล่านี้ได้เติบโตรวมกันเป็นกลุ่มก้อนขึ้นจนกระทั่งต้องอาศัยเทคนิควิชาการเฉพาะ การวางแผน การจัดองค์การ และการตลาด รวมเข้าแล้วเรียกว่า “อุตสาหกรรมท่องเที่ยว” ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของนานาประเทศในปัจจุบัน
ทางด้านสังคม การท่องเที่ยวก็เป็นการพักผ่อนที่ช่วยลดความตึงเครียด พร้อมๆ กับสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้มาเยือนและเจ้าของท้องถิ่น จึงเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ภาวะการท่องเที่ยวของประเทศนั้น กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นดัชนีวัดสภาวะทางเศรษฐกิจและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ หากอุตสหกรรมการท่องเที่ยวเป็นไปในทิศทางที่สดใสก็จะส่งผลดีทางด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตและการสร้างงานของประเทศนั้นๆ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงถือได้ว่าเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่แสดงบทบาทเด่นชัดในแต่ละปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนถึง 14,149,841 คน เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2551 มีอัตราลดลงของนักท่องเทียวคิดเป็น 2.98% (Immigration Bureau, Royal Thai Police,) ส่งผลทำให้รายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวลดลง นับเป็นมูลเหตุของการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญทำให้ภาครัฐต้องออกมาจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นพลังของการขับเคลื่อนทั้งส่วนเล็กและส่วนน้อยที่ช่วยกันผลักช่วยกันดันให้อุตสาหกรรมนี้เคลื่อนไหวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง และแสดงบทบาทนำในการเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งนำไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ การกระจายรายได้และการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมากมายหลายร้อยสาขา เป็นการสร้างความมั่งคั่งให้กับประชาชน และประเทศชาติ และนำไปสู่ความสำเร็จในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย
เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญในการนำรายได้เข้าประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมื่อมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นย่อมเป็นที่มาของรายได้ของประเทศในรูปแบบของการสร้างงาน สร้างอาชีพ ในสาขาธุรกิจที่เกี่ยวข้องไปด้วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ ธุรกิจด้านการขนส่ง(Logistics) ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร และธุรกิจการจัดนำเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยทางอ้อม ได้แก่ การผลิตสินค้าทางการเกษตร สินค้าหัตถกรรมต่าง ๆ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และการผลิตสินค้าของที่ระลึก อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ไปยังทุกพื้นที่ทั้งในเมืองและในชนบท ซึ่งมีส่วนช่วยในการพื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีในทางอ้อมและทำให้เกิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักในสังคมโลก ซึ่งนับว่าเป็นผลดีต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในเวทีระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี


ภาวะการท่องเที่ยวในประเทศไทย
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยนั้น มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเฉลี่ยประมาณ 14 ล้านคนต่อปี โดย East Asia เป็นกลุ่มที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนมากที่สุด คือกว่า 7 ล้านคนต่อปี รองลงมาได้แก่ Europe ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนกว่า 3 ล้านคนต่อปี และ อเมริกาตามลำดับ
ตารางที่ 1 สถิตินักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยใน ระหว่างปี 2550-2552(Number of International Tourist Arrival 2007-2009)

ตารางที่ 2 มูลค่าการท่องเที่ยวของประเทศไทยในระหว่างปี 2548-2552


ตารางที่ 3 ข้อมูลเปรียบเทียบมูลค่าการท่องเที่ยวกับมูลค่าการส่งออกของ ประเทศไทยในระหว่างปี 2548-2552

จากตารางที่ 3 ข้อมูลเปรียบเทียบมูลค่าการท่องเที่ยวกับมูลค่าการส่งขอประเทศไทยในระหว่างปี 2548-2552 เราจะพบว่ามูลค่าของการท่องเที่ยวในแต่ละปีมีมูลค่าสูงขึ้นและจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของรายได้มวลรวมของประเทศ แสดงให้เห็นว่าการสร้างผลผลิตของชาติ (Gross Domestic Product: GDP) นั้น เกิดขึ้นจากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ ธุรกิจด้านการขนส่ง (Logistics) ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร และธุรกิจการจัดนำเที่ยว และ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยทางอ้อม อาทิ การผลิตสินค้าทางการเกษตร สินค้าหัตถกรรมต่างๆ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และการผลิตสินค้าของที่ระลึก เป็นต้น

บทสรุป
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น จึงขอสรุปความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่อการพัฒนาภาคเศรษฐกิจสังคมและการเมืองดังนี้
1. ก่อให้เกิดรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ และมีส่วนช่วยในการสร้างเสถียรภาพให้กับดุลการชำระเงิน
2. รายได้จากการท่องเที่ยวจะมีผลทวี ผลในการสร้างรายได้ก่อให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจแบบมูลค่าเพิ่ม ส่งผลให้ผลผลิตมวลรวมของประเทศ(GDP)มีค่าทวีคูณ อีกทั้งยังเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงการพัมนาคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นของประชาชน
3. ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และก่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างขว้างขวาง
4. ก่อให้เกิดการสนับสนุนฟื้นฟูและอนุรักษ์ศิลปวัมนธรรมประเพณที่ดีงาม
5. ก่อให้เกิดการพัฒนาความเจริญสูภูมิภาค จากการขยายตัวของการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ

ข้อมูลอ้างอิง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, (2551). รายงานผลการดำเนินงานของการท่องเที่ยงแห่งประเทศไทยประจำปี2550. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง
ฉันทัช วรรถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สามลดา
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์
สุชาติ ธาดาธำรงเวช. (2553). ปรัชญาการบริหารระบบเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หมวกที่เราใส่นั้นมีหลายสี

รู้ทันว่า “หมวกที่เราใส่นั้นมีหลายสี”
สวีสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผู้เขียนมีข้อคิดในการดำเนินชีวิตที่เป็นแง่คิดเตือนใจ เรื่อง “หมวกที่เราใส่นั้นมีหลายสี” มาช่วยกันแชร์ความคิดนะครับ

เราจะเห็นว่าโลกเราทุกวันนี้ต่างก็กำหนดหน้าที่ต่าง ๆ ส่งผลให้เรามีหลายบทบาทในเวลาซึ่งหลาย ๆ ท่านอาจเคยได้ยิน ได้ฟังกันมาแล้วว่า “พวกเรากำลังสวมหัวโขน หรือ สวมหน้ากากอยู่” ใครได้บทใดเป็นตัวละครใด ก็ให้แสดงไปตามบทตามตัวละครที่ได้มา แต่ผู้เขียนขอเรียงคำเหล่านั้นเพราะดูเหมือนว่าเราต้องสวมมันอยู่ตลอดเวลา โดยขอใช้คำว่า “พวกกำลังสวมหมวก” ด้วยเห็นผลที่ว่า การใส่และการถอดหมวกนั้นมันง่ายเสียจนหลาย ๆ คนมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไปกันนะครับ ที่นี้เราลองมาดูบทบาทในหมวกกันนะครับว่าในทุกวันนี้เราเป็นอะไรกันบ้าง ณ. ช่วงเวลาเดียวกัน
 หมวกใบแรกเมื่อเราเกิดมานะครับ “คุณค่าของความเป็นมนุษย์”
 หมวกใบที่สอง คือสถานะ “ความเป็นชาย-หญิง”
 หมวกใบที่สาม คือสภาพ “ความเป็นลูก”
 หมวกใบที่สี่ คือ “ความเป็นเพื่อน”
 หมวกใบที่ห้า คือ “ความเป็นลูกศิษย์”
 หมวกใบที่หก คือ “ความเป็นผู้ใหญ่ เข้าสู่วัยทำงาน”

ตามผู้เขียนมาถึงหมวกใบที่ หก ที่เป็นหมวกเจ้าปัญหา และก่อความวุ่นวายในชีวิตของคนเรามากมายเพราะเจ้าหมวกใบนี้ได้รับมาพร้อมกับกรอบความรับผิดชอบของสังคมที่เป็นตัวบงชี้ความสำเร็จของผู้ส่วมใส่ และหากเรามองลึกลงไปภายในหมวกใบนี้เราจะได้พบกับกล่องดำที่มืดมิดมิหนำซ้ำภายในกล่องยังบรรจุหมวกไว้อีกหลากหลายให้เราส่วมใส่ หรือถูกหยิบยื่นให้ส่วมใส่โดยไม่รู้ตัวด้วย อาทิเช่น หมวกที่บ่งบอกความเป็นเจ้านาย,หัวหน้า, ลูกน้อง, นายจ้าง, ลูกจ้าง, ฯลฯ และอีกมากมายเลยใช่ไหมละครับ

ต่อจากนี้ไปผู้เขียนขออนุญาตนำผู้อ่านไปติดตามตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย ๆ เพื่อนำมาเป็นแง่คิด มุมมองเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้นำไปใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์และหาวิธีสวมใส่หมวกหลายสีที่พวกเรามีกันอยู่อย่างสนุกสนานและสร้างความสุขในการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างปกติสุขกันนะครับ

คุณชาย กังวล จอมเครียด ท่านเป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเอกชลที่มีผลประกอบการดีเยี่ยม ท่านเป็นผู้มีบารมีมากในการทำงาน มีลูกน้องเป็นจำนวนมาก ทุกคนต่างให้ความเคารพท่าน ไม่ว่าจะสั่งการใด ๆ เรียกว่าทุกๆ คนในบริษัทต้องยินยอมทำตามความต้องการของท่านอย่างไม่มีเงื่อนไข แต่ทุกๆวันท่านมักบ่นว่าไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตในครอบครับเพราะมักบ่นให้เลขาคนสนิทฟังเสมอว่า “มีลูกน้องตั้งมากมายทุกคนให้ความเคารพสั่งอย่างไรได้อย่างนั้น แต่เจ้าลูกชายหัวแก้วหัวแหวนที่บ้านมีแค่คนเดียวเองกลับสั่งอะไรไม่ได้มีปากเสียงกันเกือบทุกวัน” ทำไมผมบอกอะไรเขาไม่เคยฟังและทำตามเลย

จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นผู้เขียนขอนำประเด็นหมวกหลายสีมาวิเคราะห์เหตุการณ์ให้ท่านผู้อ่านได้ดังนี้คือ คุณกังวล จอมเครียด ได้ สวมหมวกของ ”ความเป็นเจ้านาย” และนำกลับไปที่บ้าน และคาดหวังว่าจะนำไปใช้กับลูกชาย หัวแก้วหัวแหวน แต่ไม่สามารถใช้ได้เพราะ ลูกของเขา ดันไปสวมหมวกของ “ความเป็นลูกชาย” ไม่ใช้ ความเป็นลูกน้อง จึงทำให้สถานะของทั้งสองต่างกัน และเป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้งของทั้งสองฝ่าย แต่หากคุณกังวล จอมเครียด ถอดหมวกของความเป็นเจ้านายออกไว้ที่ทำงาน แล้วหยิบหมวกใบใหม่ ที่ใส่ “ความเป็นพ่อ” กลับไปบ้านซึ่งมีทั้งความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว ก็จะไม่ทำให้เกิดรอยแยกของสองพ่อลูก ก็จะทำให้ครอบครัวอยู่อย่างมีความสุขไงครับ

หรืออีกตัวอย่างที่ใกล้ตัวเราคือเรื่องของการที่มีใครบางคนต้องตกงาน ถูกเลิกจ้าง หรือเกษียนอายุงานออกไปแล้ว เราจะเห็นว่าเขาเหล่านั้นขาดความสุขในการดำเนินชีวิต เพราะการที่ต้องเป็นคนว่างงานนั้นเสมือนหมวกใบที่เคยใส่อยู่นั้นต้องถูกถอดออกเลยทำให้หาความสุขไม่ได้ ผู้เขียนขอให้แง่คิดกับกรณีดังกล่าวว่า หมวกที่เขาถอดออกหรือนำกลับไปนั้นเป็นแค่หมวกธรรมดาเท่านั้น แต่ตัวตนที่แท้จริงของเรา ความเป็นตัวเราจะคงอยู่กับเราตลอดไป เรามิได้ขายจิตวิญญาณหรือความเป็นตัวเราไปกับหมวกใบนั้น ใบหนึ่งไป ใบใหม่เข้ามาแทนที่ ความเป็นตัวเราเท่านั้นที่คงอยู่ตลอดไป แล้วเราจะไปเป็นทุกข์กับการต้องเปลี่ยนหมวกทำไม สู้คงความเป็นตัวเรา และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขดีกว่าใช่ไหมครับท่านผู้อ่าน

สุดท้ายนี้ผมมีข้อคิดที่หลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินกันนะคับ “คนเราเลือกเป็นในสิ่งที่อยากเป็นไม่ได้ แต่คนเราสามารถเลือกกระทำในสิ่งที่เราอยากทำได้ ทำไมไม่เลือกกระทำในสิ่งที่ทำให้ตัวเรามีความสุขกันละครับ” แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่าต้องไม่อยู่บนความทุกข์หรือความเดือนร้อนของผู้อื่นนะครับ

เรียนรู้ที่ จะอยู่กับทุกข์ อย่างเป็นสุข

หลาย ๆ คนคงคุ้นหูกับคำว่า "ทำงานหนัก แต่ ได้เงินน้อย ไม่พอกับ ค่าใช้จ่าย " กันนะครับ

ถ้อยคำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นปัญหาหลักของมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่กันเลยครับ เพราะเราจะได้ยินเสียงโอดครวญกันอยู่เนือง ๆ ว่า "ฉันทำงานหนักแทบตาย ทำงานล่วงเวลาทุกวัน แต่รายได้นิดเดียว ไม่เพียงพอกับรายจ่าย" นอกจากนี้ยังมีปัญหาสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ของแพงขึ้นทุกวัน ค่าแรงยังไม่ปรับตัวสูงขึ้นเลย แต่ราคาของขึ้นไปรอค่าแรงเรียบร้อยแล้ว ทำงานหนักอย่างไร ก็ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ยิ่งใกล้โรงเรียนเปิดเทอมยิ่งเป็นปัญหาน่าปวดหัวเข้าไปอีก

แน่นอนครับเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าปัญหาดังกล่าวเกิดมาจาก "เงิน" ที่เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ แล้วทำอย่างไรเราจะมีความสุขบนพื้นฐานที่เราเป็นอยู่ได้ แน่นอนครับ เราต้องมีการปรับตัวให้เป็นไปตามสภาวการณ์ ผู้เขียนขอนำเอาหลักทางพุทธศาสนาที่ว่า
" ทุกข์เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จงเรียนรู้ในทุกข์ และเรียนรู้ที่ จะอยู่กับทุกข์ อย่างเป็นสุข " มาเป็นเครื่องมือในการแนะนำการปรับตัวนะครับ

การที่เราบอกว่าเราทำงานหนักแทบตาย นั้นเป็นจริงหรือไม่ ลองพิจารณาในประเด็นดังนี้

คุณเรียนจบอะไรมา
งานที่คุณทำอยู่นี้ใช่หรือไม่
คุณได้ทำงานตามที่เราจบมาหรือไม่
คุณมั่นใจว่าคุณทำงานอย่างเต็มที่แล้ว
คุณมีความสำคัญกับงาน(องค์กร)มากแค่ไหน
แล้วลองเดินไปหาเจ้านาย ขอขึ้นเงินเดือนดูครับ
หากคุณมีความสำคัญจริงเจ้านายจะขึ้นเงินเดือนให้ครับ
หากไม่ คุณก็ลองทบทวนใหม่อีกครั้งหากยังมั่นใจก็ลองเปลี่ยนงานซิครับ

เรียนรู้การปรับตัวที่ จะอยู่กับทุกข์ อย่างเป็นสุข ด้วยการปรับสภาพความเป็นอยู่ตามปัจจัยพื้นฐาน

ทบทวนรายได้
ทบทวนในสิ่งที่ต้องจ่าย
จัดสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย
ตัดทอนรายจ่ายด้วยหลัก 3 R (Reduce, Reuse, Recycle)
หยอดกระปุกเพิ่มด้วยรายได้ที่เหลือจากการตัดทอนรายจ่าย
สุดท้าย อย่า นำตนไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่สูงกว่า
แต่จงมองกลับลงมาว่า ยังมีคนอีกมากมายที่ลำบากกว่าเรา

ง่าย ๆ แคนี้ก็ทำให้เราได้อยู่อย่างเป็นสุข ท่ามกลางความทุกข์มากมายที่อยู่รอบตัวเรา เพราะสิ่งสุดท้ายที่คงไว้หลังเราจากไปคือชื่อเสียงที่ดีงาม หรือความเลวทราม ที่ผู้คนต่างกล่าวขาน......

คุณค่าของเวลาในชีวิต

เรียนรู้ “คุณค่าของเวลาในชีวิต”

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน
วันนี้ผู้เขียนขออนุญาตนำท่านผู้อ่านไปหามุมมองในเรื่องของ “คุณค่าของเวลาในชีวิต” กันนะครับ ซึ่งท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะเคยพบหรือเคยอ่านบทความในลักษณะนี้มาบ้างแล้วผู้เขียนต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี่ เพราะมุมมองที่ผู้เขียนได้บรรยายไว้ในบทความนี้เป็น แง่คิดแนวปฏิบัติที่ผู้เขียนยึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงอีกมุมหนึ่งถึง “คุณค่าของเวลา”

ก่อนอื่นผู้เขียนขอนำเสนอหลักการคำนวณเวลาทางคณิตศาสตร์ตามแนวการดำเนินชีวิตของคนไทยซึ่งมาตรฐานเวลาดังกล่าวองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้กำหนดอายุเฉลี่ยของคนไทยคือ ผู้หญิงมีอายุเฉลี่ย 72ปี ผู้ชายมีอายุเฉลี่ย 68ปี เราจะเห็นว่าการวิเคราะห์อายุเฉลี่ยในตัวเลขดังกล่าวผู้หญิงจะมีอายุยืนมากกว่าผู้ชายอันเป็นผลมาจากรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันของผู้หญิงและผู้ชาย แต่อย่างไรก็ตามสำหรับอายุการทำงานของคนไทยนั้นผู้เขียนขอนำอายุการทำงานของข้าราชการไทยมาเป็นเครื่องมือในการคำนวณเวลากันนะครับ

เราลองมาคำนวณเวลาในอายุของคนไทยกันนะครับ
 ช่วงอายุ 1-6 ปี วัยเด็กอยู่กับครอบครัว
 ช่วงอายุ 7-18 ปี เป็นการศึกษาภาคบังคับ
 ช่วงอายุ 19-22 ปี การศึกษาในระดับอุดมศึกษา(ปริญญาตรี)
 ช่วงอายุ 23 ปีขึ้นไป เป็นช่วงอายุของการ เริ่มต้นการทำงาน
เมื่ออายุการทำงานของข้าราชการไทยสินสุดที่ 60 ปี และคนไทยเราเริ่มต้นเข้าสู่วัยทำงานที่อายุ 23 ปี เราจะเห็นว่าช่วงระยะเวลาการทำงานของคนไทยคำนวณได้จากตัวเลข 60-23เท่ากับ 37ปี หรือเท่ากับ13,505 วันกันเลยนะครับ

ที่นี้เราลองมาหาคุณค่าของเวลากันดูนะครับว่าระยะเวลา 37 ปี หรือ 13,505 วันนั้นเราเอาเวลาไปทำอะไรกันบ้างก่อเกิดประโยชน์กับตนเองและส่วนรวมมากน้อยแค่ไหน ตามวิชาการทางการแพทย์คนเราต้องพักผ่อนด้วยการนอนหลับวันละ 6-8 ชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่ถ้าอยากหน้าใส ไม่แก่เกินวัยห้ามนอนหลังเที่ยงคืนนะครับ สำหรับเวลาทำงานของเราผู้เขียนคำนวณได้จากชั่วโมงทำงานตามเวลาราชการคือ 8 ชั่วโมงต่อวันนะครับ ส่วนเวลาที่เหลือใน 1 วันมีค่าเท่ากับ 8-10 ชั่วโมงกันเลยนะครับ ถ้าดูตัวเลขแล้วเวลานิดเดียวเองใช่ไหมครับ เราลองเอามาเทียบเป็นเวลาตลอดช่วงวัยทำงานกันดูนะคับว่าจะมีค่ามากเท่าไหร่
•เวลานอนหลับ 8 ชั่วโมงคูณ 13,505 วัน คิดเป็น 108,040 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 6,482,400 นาที
•เวลาทำงาน 8 ชั่วโมงคูณ 13,505 วัน คิดเป็น 108,040 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 6,482,400 นาที
•เวลาส่วนที่เหลือ 8 ชั่วโมงคูณ 13,505 วัน คิดเป็น 108,040 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 6,482,400 นาที

จากประสบการณ์ของผู้เขียน มีความเห็นว่า ความสำเร็จของคนส่วนใหญ่นั้นเกิดมาจากการบริหารจัดการเวลาส่วนที่เหลือคือ 108,040 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 6,482,400 นาที นี้ว่าจะใช้ไปในทิศทางใดและก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองและส่วนรวมมากน้อยเพียงใด เพราะเราจะเห็นว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ครอบครัวหรือด้านอื่น ๆ มักมีการบริหารจัดการเวลาในส่วนนี้เป็นอย่างดี เช่น ใช่เวลาว่างไปทำการศึกษาหาความรู้เพื่อนำมาพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา หรือจัดตรางเวลามา Take Care ครอบครัวสร้างรากฐานที่มั่งคงของครอบครัวและสังคม อาจมีบางท่านที่นำเวลาส่วนนี้มาช่วยกันพัฒนาสังคมแบบไม่คิดแสวงหากำไร ส่วนผู้ที่ล้มเหลวในชีวิตมักเรามักจะได้ยินเสียงบ่นว่าไม่มีเวลาหรือเวลาไม่พอที่จะทำอย่างนั้นอย่างนี้โดยลืมไปว่าเวลาส่วนนี้ของเขาก็เท่า ๆ กับคนอื่นและสามารถที่จะนำไปพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย มิใช่เป็นการเอาเวลาส่วนนี้ไปตั้งวงเสวนาโดยมีสุราเป็นมิตร หรือนำพาชีวิตตนเองสู่อบายมุขต่าง ๆ จนกลายเป็นบัวในโคลนตมแทนที่จะพัฒนาเจริญเติบโตกลับต้องมากลายมาเป็นเหยื่อของเต่าปลาไปเสียนี่ครับ

สุดท้ายนี้ผู้เขียน อยากให้ทุกท่านลองพิจารณาดูนะครับว่า ทุก ๆ ท่านได้ใช้คุณค่าของเวลาในส่วนที่เหลือของท่านไปอย่างไร ก่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติของเราอย่างไร และท่านผู้อ่านต้องไม่ลืมนะครับว่า เวลาในส่วนนี้เมื่อท่านใช้มันอย่างคุ้มค่าแล้ว มันจะส่งผลต่อการใช้เวลาในส่วนที่ท่านใช้ทำงานด้วยเพราะความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของท่านจะได้ผมมาจากการใช้เวลาอย่างคุ้มค่าของเวลาส่วนนี่โดยที่ท่านไม่ต้องประจบเจ้านาย(เลียนาย) แต่ท่านโตได้ด้วยความสามารถในตัวท่านเองและมันจะกลายเป็นความภูมิใจของท่านเอง ว่าท่าน “มิได้ทำร้ายใคร มิได้ทำลายสังคม และทำร้ายประเทศไทย”

คำพูด และการพูด

“คำพูด และการพูด”

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน

วันนี้ผมขอพาท่านผู้อ่านมาคุยกันในเรื่อง คำพูด และการพูด” กันนะครับ หลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินสำนวนสุภาษิตต่าง ๆ มากมาย เช่น “พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย” ซึ่งคำพูด และการพูดของเรานั้นสามารถเป็นคำพูดที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ และก่อให้เกิดการทำลายล้างได้เช่นเดียวกัน ผู้อ่านทุกท่านลองนั่งทบทวนข้อสังเกตุตามผมดูนะครับว่าเห็นจริงเช่นที่ผมกล่าวหรือไม
 

หลาย ๆ เหตุการณ์เราจะพบว่า การพูดเพื่อชี้แจ้งเหตุผลต่าง ๆ นั้นกลับกลายเป็นคำพูดเพื่อแก้ตัว หรือถ้าร้ายแรงขึ้นมาอีกหน่อยก็กลายเป็นคำพูดที่ว่าเย่อหยิ่งอวดดีไปเสีย และบ่อยครั้งที่เราจะเห็นคำพูดบางคำก็สร้างปมของความขัดแย้ง ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีในหมู่คณะขึ้น นอกจากนี่ยังก่อให้เกิดการแตกแยกแบ่งออกเป็นหมู่ เป็นก๊ก ต่าง ๆ ในองค์กร หรือสังคมของเราอยู่เนือง ๆ และเป็นมูลเหตุที่ก่อให้เกิดการหยุดการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ทั้งตนเอง องค์กร สังคมส่วนรวมและประเทศชาติ
 

ดังนั้นการสรรค์สร้างคำพูดที่ดี และการพูดที่ดี ในช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับที่จะทำให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้กำหนดไว้นะครับ เราลองมาดูตัวอย่างคำพูดที่มีการสร้างสรรค์ ที่จะส่งผลดีต่อการดำเนินกิจกรรมของเราตามคำกล่าวที่ว่า “ก่อนจะพูดสิ่งใด ขอให้คิดให้ดีก่อนพูด เพราะเมื่อใดที่เราหลุดคำพูดไปแล้ว คำพูดนั้นจะกลับมาเป็นนายของเรา” ฉะนั้นขอให้เราตั้งสติ คิดทบทวนในสิ่งที่จะพูด และควรรู้ว่าผู้ฟังเป็นใคร อยู่ในสภาวะการณ์อย่างไร และเลือกวิธีการพูดให้เหมาะสมนะครับ เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้คำพูด และการพูดของเราก่อให้เกิดประโยชน์ได้แล้วครับ


กล่าวคำว่า “สวัสดี” พร้อมมอบรอยยิ้มให้แก่กัน อาจจะพนมมือไหว้ด้วยก็ได้ ถ้าผู้ที่เราทักทายด้วยอาวุโสกว่าเรา การกล่างคำว่า สวัสดี และไหว้กันนั้น เราถือเป็นวัฒนธรรมที่งดงาม เป็นเสน่ห์ และเอกลักษณ์ของไทย ซึ่งเป็นของล้ำค่าที่เราทุกคนควรจะช่วยกันผดุงรักษาเอาไว้ นอกจากนี้ การกล่าว สวัสดีต่อกัน ยังเป็นการเรียนรู้ที่จะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นอีกด้วย เพราะผู้ที่ถูกทักทาย จะรู้สึกยินดี ที่เราให้ความสำคัญ และสนใจในตัวเขา ถ้าเป็นผู้ใหญ่กว่าเรา ก็จะเกิดความรู้สึกว่า เด็กคนนี้ มีกริยามารยาทดี มีสัมมาคารวะ ให้ความเคารพ หรืออ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่


การกล่าวชมผู้อื่นในเรื่องต่างๆ เช่น ชื่นชมในเรื่อง รูปร่าง หน้าตา บุคลิกภาพ การทำงาน การปฏิบัติตน และ ฯลฯ รวมถึงการแสดงความชื่นชม ยินดีกับผู้อื่นในโอกาส และวาระ ที่เขามีความสุขประสบความสำเร็จในชีวิต ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานธุรกิจ และอื่นๆ


การกล่าว “คำขอบคุณ” เมื่อใครก็ตามที่มีน้ำใจทำอะไรให้กับเรา ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือเรื่องใหญ่และสำคัญก็ตาม เช่น มีคนลุกให้เรานั่งบนรถเมล์ เราก็ควรกล่าวคำว่า ขอบคุณกับผู้นั้นเสมอ เพราะนอกจากจะเป็นมารยาททางงสังคมที่เราควรปฏิบัติแล้ว การขอบคุณยังเป็นการแสดงให้เขาได้รู้ว่า เรามีความรู้สึกรับรู้ และซาบซึ้งในสิ่งที่เขาทำให้กับเรา ด้วยจิตใจที่เมตตากรุณาของเขาที่มีต่อเรา และก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน
 

รู้จักกล่าวคำว่า “ขอโทษ” กับผู้อื่น ในกรณีที่เราสร้างความรำคาญไปรบกวน หรือ ทำให้ผู้อื่นเกิดความไม่สบายกาย สบายใจ ในสถานการณ์ต่าง เช่น การใช้คำพูดที่รุนแรง พูดไม่ดี กับผู้อื่น และเรารู้ตัวว่าเรารู้สึกผิดในสิ่งที่เรากระทำลงไปนั้น จะด้วยเหตุผลใดๆก็ตามขอโทษกับผู้ที่ถูกกระทำ โดยไม่ต้องลังเลใจ ซึ้งในบางครั้งเราอาจเกิดจากทิฐิ หรือกลัวจะเสียหน้า ไม่ยอมขอโทษ และยอมรับความผิดของตน แต่เราควรระลึกถึงคำพูดหนึ่งที่เคยกล่าวไว้ว่า สี่เท้ายังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” ดังนั้น เมื่อเราทำผิดแล้ว ต้องรู้จักขอโทษ และเมื่อกล่าวคำขอโทษแล้ว ก็ควรจะให้อภัยกัน ไม่โกรธเคืองกัน
 

นอกจากคำพูดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีคำพูดเชิงสร้างสรรค์อีกมาก ส่วนใหญ่ทุกท่านก็มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว ผมเขียนเรื่องนี้เพียงเพื่อต้องการเน้นย้ำและทบทวนความสำคัญของ “คำพูด และการพูด” เพราะบางครั้งเราอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้กันมากนัก ผมเอง ใช่ว่าจะปฏิบัติได้ถูกต้องและครบถ้วน แต่ก็พยายามฝึกฝนตนเองต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะทำได้ มีคำกล่าวเอาไว้ว่า หนทางข้างหน้าอีกยาวไกล แต่ชีวิตของคนเรานั้นสั้นนัก” ดังนั้นเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ร่วมกัน ก็จงอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดีต่อกัน อุดหนุน เกื้อกูล ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน โดยใช้คำพูด และการพูดเชิงสร้างสรรค์ สวยงาม จรรโลงใจ เป็นสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างกัน และเราจะไม่ควรพูดจาทำร้ายจิตใจกัน ไม่เกรี้ยวกราด ใส่ร้ายป้ายสี ส่อเสียด ประชดประชัน หรือกระทบกระเทียบเปรียบเปรย ด้วยคำพูด ต่างๆ นานา ที่ไม่ดีต่อกัน ถ้าทำได้ดังนี้ ชีวิตของเรา องค์กร สังคมส่วนรวมและประเทศชาติก็พบแต่ความสุข และรอยยิ้ม มอบให้แก่กันตลอดไป