วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลัก 5 ประการสู่ความสำเร็จของชีวิต

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน
สำหรับบทความตอนนี้ผมขอใช้ชื่อ “หลัก 5 ประการสู่ความสำเร็จของชีวิต” นะครับ แรงบันดาลใจของบทความนี้มาจากการที่ผมได้เห็นความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นในสังคมบ้านเมืองของเราอาทิเช่น การเปิดตลาดเสรีอาเซียน การเปิดเสรีทางการค้ากับจีน การเปิดเสรีทางการค้ากับญี่ปุ่น การเปิดเสรีทางการค้ากับอินเดีย ฯลฯ ทำอย่างไรเราถึงจะเดินไปสู่ความสำเร็จของชีวิตได้อย่างสมบูรณ์แบบ ผมมีหลักการดำเนินชีวิต 5 ข้อ ที่ทุกท่านสามารถที่จะนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติและเกิดผลสำเร็จต่อตัวท่านเองดังนี้

๑) ชีวิตการเรียนรู้ (Learning Life) เป็นการสร้างตนเองให้เป้นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ตลอดชีวิตของคนเรานั้นต้องอยู่กับการเรียนรู้ตลอดเวลาเพราะสภาพแวดล้อมของสังคมเรานั้นมีพัฒนาแปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาหากเราหยุดเรียนเมื่อใดเท่ากับว่าเราหยุดอยู่กับที่ก็จะทำให้เรากลายเป็นคนล้าหลังไปในทันทีดังนั้นผมขอนำเสนอการเรียนรู้อย่างง่าย ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองเข้าสู่ “ชีวิตการเรียนรู้ (Learning Life)” ดังนี้คือ
 การอบรมและพัฒนา Training and Development ทุกท่านสามารถที่จะดำเนินได้ง่ายและไม่ต้องใช้การลงทุนสูง เป็นการสร้างการเรียนรู้ให้ตนเองที่กระทำได้ทั้งแบบในห้องเรียนและนอกห้องเรียน หรือ OJT (On Job Training) สามารถดำเนินได้ตลอดเลา และให้นำสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้มานั้นปรับและพัฒนาเป็นทรัพย์สินของตนเอง
 การวิจัยและพัฒนา Research and Development อาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางท่านเพราะการเรียนรู้ในลักษณะนี้ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและทุนค่อนข้างสูงมาเป็นเครื่องมือในการศึกษาและพัฒนาความรู้ของตนเอง
 การลอกเลียนแบบและพัฒนา Copy and Development เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถกระทำได้อย่างง่ายแต่สำหรับเรื่องนี้ผมขอใช้คำว่า “Benchmarking” แทนเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจของท่านผู้อ่าน การ Benchmarking คือการค้นหาจุดเด่นจุดด้อยของตนเอง โดยใช้วิธีเปรียบเทียบกับผู้อื่น ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า จากนั้น นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้มาปรับปรุงตนเองให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่เขาเป็นอยู่
๒) คิดและคลิก (Think and Click) ผมขอแยกข้อนี้ออกเป็นสองส่วนคือ ท่านต้องรู้จักคิด วิเคราะห์ แยกแยะเป็น และท่านต้องรู้ว่าท่านอยากที่จะเรียนรู้และพัฒนาอะไรในตัวท่านเมื่อคิดได้แล้วท่านจะต้องลงมือค้นหาหรือสืบค้นสิ่งที่ท่านต้องการในทันที โดยอาศัยการคลิกเมาส์ คอมพิวเตอร์ (Computer) เพราะปัจจุบันนี้โลกเราอยู่ที่ปลายนิ้วที่ท่านใช้คลิกเมาส์นี่แหละครับ ถ้าหากท่านคิดและไม่ลงมือปฏิบัติท่านก็เปรียบเสมือนจิตกรที่เขียนภาพวาดไว้ในมโนภาพของตนเอง แต่มิได้ลงมือวาดออกมาเป็นภาพให้ผู้อื่นได้เชยชมนั้นเองครับ

๓) ความเชี่ยวชาญ (Expert) ท่านต้องค้นหาตนเองให้พบว่า ท่านเก่งด้านใด มีความชำนาญหรือเชี่ยวชาญในด้านใด และวิเคราะห์ว่าสิ่งที่ท่านทำอยู่ในปัจจุบันนี้ ใช่ในสิ่งที่ท่านเชี่ยวชาญหรือไม่ หากยัง ท่านจะต้องหมั่นฝึกฝนและพัฒนาตนเองให้เกิดความเชี่ยวชาญในแขนงนั้น ๆ และแสดงให้บุคคลอื่นรับทราบ (Present Face) เพื่อเป็นการสร้างโอกาสก้าวหน้าให้กับตัวท่านเอง

๔) ความหลากหลายในภาษา Multi- Language ปัจจุบันนี้เราอยู่บนโลกที่ใบเล็กนิดเดียว และในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคม ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) ท่านจะต้องสร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้นในตัวท่านเพื่อรองรับความเป็นไปของAEC และอย่างน้อยควรมี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาพื้นฐานที่สำคัญ ส่วนภาษาที่สามนั้นท่านสามารถเลือกภาที่ท่านชอบได้เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาเกาหลี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบและความสะดวกในการทำงานและเรียนรู้ของท่าน

๕) การสื่อสาร (Communication) ท่านจะต้องสร้างเครือข่ายและช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับตัวท่าน เพราะหากมิสามารถสื่อให้โลกรู้ได้ท่านก็มิได้ต่างจากกบในกะลาแต่อย่างใด

สิ่งที่ผมกล่าวมาข้างต้นทั้ง ๕ ประเด็นล้วนเป็นสิ่งที่มองดูเหมือนง่ายนะครับ แต่ท่านต้องพิจารณาดี ๆ นะครับเพราะว่าเรื่องง่าย ๆ เหล่านี้เป็นจุดเสียเปรียบสำหรับประเทศที่ไม่เคยสูญเสียเอกราชอย่างประเทศไทย เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศในแถบตะวันตก เพราะว่าภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสารของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือภาษาอังกฤษ ดังนั้นเราต้องร่วมกันสร้างนิสัยใฝ่ที่จะเรียนรู้ให้กับคนไทยและพัฒนาประชาชนคนไทยให้สามารถใช้ภาอังกฤษได้อย่างเหมาะสมกับสภาวะที่เปลี่ยนไปของสังคมเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น